การให้ความร้อนแบบ CONVECTIVE HEATING
                          
การชุบแข็งด้วยเตาเกลือ (Bright Hardening)
                          
การชุบแข็งด้วยเปลวไฟ (Flame Hardening)
                         
HIGH - PRESSURE GAS QUENCHING
                         
ความแข็งและความเค้นที่ตกค้าง
                         
การชุบแข็งด้วยระบบอินดั๊กชั่น (การเหนี่ยวนำ)
                         
การประมาณค่า ความแข็งของแกนกลาง
                        
การวัดความลึก ของผิว
                        
ข้อได้เปรียบของ durferrit คาร์บูไรซิ่ง
                        
Carburizing (คาร์บูไรซิ่ง)
                       
ความแข็งและความลึกของผิว
                       
เครื่องมือและอุปกรณ์ของเรา
                      
ความทนต่อการกัดกร่อนโดย QPQ
                      
Tufftride QP, QPQ
                       
กระบวนการไนไตรดิ้งด้วยเตาเกลือ
                      
เหล็กไฮสปีด
                      
เหล็กไฮสปีด
                     
เหล็กกล้าเครื่องมืองานเย็น
                      
เหล็กกล้าเครื่องมืองานร้อน
                    การอบชุบด้วยความร้อนของ เหล็กกล้าเครื่องมือส่วนผสมสูง

 

 

  

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

 

 

                                                                          

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

001 002 003 004 005 006


 

กระบวนการภายใต้สุญญากาศ  

001 ข้อดีของงานที่อบชุบด้วยเตาสูญญากาศ  

  • ผิวสะอาด
  • งานไม่สูญเสียคาร์บอนออกไป
  • ไม่เกิดอ๊อกซิเดชั่น
  • เกิดการเปลี่ยนรูปน้อย
  • แก้ไขและเปลี่ยนแปลงง่าย
  • สามารถบัดกรีแข็งภายใต้สูญญากาศที่อุณหภูมิสูงได้
  • ประหยัด
002 ข้อมูลทางด้านเทคนิคของเตา VKNQ
  • พื้นที่บรรจุงาน 650x600x900 มม.
  • น้ำหนักบรรจุสูงสุด 650 กก.
  • อุณหภูมิใช้งานสูงสุด 1,300 oC
  • ความเที่ยงตรงของอุณหภูมิ <+5 oK
  • ชุบด้วยแก๊สไนโตรเจนความดัน 6~10 บาร์
  • สามารถทำสูญญากาศได้ถึง 10-2~10-5 mbars 
    จัดสร้างโดย ALD (เยอรมัน)
003 กระบวนการ ให้ความร้อนด้วยการพา 
  • การส่งผ่านความร้อนด้วยการแผ่รังสีเพียงอย่าง
    เดียวภายใต้สูญญากาศ จะไม่ได้ผลที่อุณหภูมิต่ำ
    กว่า 500 oC และยังผลให้อุณหภูมิที่ผิว และแกน
    ของชิ้นงานมีความแตกต่างกันมาก
    ผลของความแตกต่างของอุณหภูมิดังกล่าวทำ
    ให้เกิดความเค้น (Thermal Stress) ซึ่งอาจจะเป็น
    ต้นเหตุทำให้เกิดการบิดงอของชิ้นงาน
  • โดยการเพิ่มแก๊สไนโตรเจนความดัน 2 บาร์เข้าไป
    เพื่อทำให้เกิดการส่งผ่านความร้อนด้วยการพา ซึ่ง
    ทำให้การให้ความร้อนเป็นไปอย่างรวดเร็ว สม่ำเสมอ
    และทั่วถึง


004 กระบวนการชุบแบบ มาร์เคว้นชิ่ง
  • ในกรณีที่ชิ้นงานมีขนาดใหญ่ และรูปร่างสลับซับ
    ซ้อน การชุบให้เย็นตัวอย่างรวดเร็วทันที่ทันใด อาจจะ
    เป็นสาเหตุของการแตกร้าวและ/หรือการบิดงอของ
    ชิ้นงานอย่างรุนแรง
  • การชุบโดยให้เย็นตัวลงมาที่ระดับเหนือจุดมาร์เทน
    ไซด์เริ่มต้นของวัสดุ ซึ่งควบคุมด้วยโปรแกรมโดยการ
    ติดตั้งเทอร์โมคับเปิล์สองเส้นไว้ที่ผิวและแกนของชิ้น
    เทียบเคียง(Dummy) ซึ่งบรรจุเข้าไปพร้อมกับชิ้นงาน 
    เป็นการชุบที่ทำให้การเกิดการบิดงอของชิ้นงานน้อยที่สุด
005 กระบวนการ สลับทางของการชุบ 
  • ในขั้นตอนของการชุบนั้นเหล็กกล้าจะต้องถูกชุบให้เย็นตัว ในอัตราที่รวดเร็วและช้าเท่าที่จะสามารถกระทำได้
  • ใช้อัตราการเย็นตัวที่เร็วเพียงพอเพื่อให้ได้โครงสร้างที่ สมบูรณ์และช้า ๆ หลังจากนั้น เพื่อป้องกันการแตกร้าว และการบิดงอต่าง ๆ ของชิ้นงาน
  • เตาของเราสามารถควบคุมได้ทั้งสองอย่างคือทำการชุบ ด้วยแก๊สความดันสูงพร้อมกับการสลับทิศทาง ของการชุบ ด้วยโปรแกรมที่กำหนดตลอดจนการชุบแบบมาร์เคว้นชิ่ง
006 องค์ประกอบ การอบชุบด้วยความร้อนของ เหล็กกล้าเครื่องมือส่วนผสมสูง 

  • การชุบแข็งเหล็ก เครื่องมือ ส่วนผสมสูง จำเป็นที่จะต้องกระทำภายใต้กระบวนการสูญญากาศ เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการเกิดอ๊อกซิ
    เดชั่น และการสูญเสียธาตุคาร์บอน
  • ในกระบวนการภายใต้สูญญากาศของเราใช้ชิ้นเทียบเคียงซึ่งมี เทียบเคียงซึ่งมีขนาดที่มีความโตเท่ากับชิ้นงานที่จะทำการชุบ
    แข็งโดย ติดตั้งเทอร์โมคับเปิล์สองเส้นไว้ที่ผิวและแกน ซึ่งเทอร์โมคับเปิล์ดังกล่าวสามารถที่จะจัดการควบคุมอุณหภูมิ ที่ผิวและแกนของชิ้นงาน จนตลอดทั้งกระบวนการของการชุบแข็ง โดยวิธีการนี้เราสามารถที่จะ ; -


    1. จัดการเกี่ยวกับความเค้นอันเนื่องจากความร้อนซึ่งเกิดขึ้น ในขณะที่ให้ความร้อนแก่ชิ้นงาน และทำให้เกิดการบิดงอน้อยลง
    2. ป้องกันการเกิดโครงสร้างออสเทนไนท์ ไม่เพียงพอที่แกนและการเกิดการละลายของคาร์ไบด์ในโครงสร้างออสเทนไนท์ที่
    มากเกินไป โดยการควบคุมอุณหภูมิของการเกิดโครงสร้างออสเทนไนท์ที่แกน

    3. ประยุกต์ใช้กระบวนการมาร์เคว้นชิ่งเพื่อที่ จะป้องกันการแตกร้าวและลดการบิดงอ อันเกิดจากทั้งความเค้นที่เกิดจากความร้อน และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ในกรณีของชิ้นงานที่มีรูปร่างสลับซับซ้อน

 
การอบคืนไฟที่อุณหภูมิสูงจำนวน 3 ครั้งเป็นกฎทั่วไปของการทำงาน การอบคืนไฟครั้งที่ 1 เพื่อที่จะแยกสลายออสเทนไนท์ที่
ตกค้าง ซึ่งไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้ในเหล็กคาร์บอนสูง และเหล็กกล้าเครื่องมือส่วนผสมสูง โดยการอบคืนไฟครั้งที่ 2 เรา
ทำเพื่อควบคุมให้ ได้ความแข็งตามต้องการ การอบคืนไฟครั้งที่ 3 คือการอบคลายความเค้น เพื่อที่จะป้องกันการเกิดการแตกร้าว และการเปลี่ยนรูปตลอดกระบวนการที่ต่อเนื่องในภายหลัง
007 เหล็กกล้าเครื่องมืองานร้อน 

  • ส่วนมากเหล็กกล้าเครื่องมืองานร้อนมีความสามารถ ในการชุบแข็งสูง และสามารถที่จะทำการชุบแข็งด้วยแก๊ส ในกระบวนการภายใต้สูญญากาศ ประกอบกับขนาดของแม่พิมพ์ที่ใหญ่ขึ้น และปัญหาการแตกร้าวระยะแรก (EARLY CRACKING) ได้เกิดขึ้น ดังนั้นความเร็วในการชุบเป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องนำมา
    พิจารณา
  • สืบเนื่องจากแผนภูมิ CCT ด้านขวามือ การเกิดโครงสร้าง
    เบไนท์ เกิดขึ้นในขั้นตอนที่เร็วกว่า การเกิดโครงสร้าง
    เพิลไลท์ และมันจะประกอบด้วย โครงสร้างออสเทนไนท์ที่ตกค้างอยู่ในเนื้อพื้น (MATRIX)จำนวนหนึ่ง การเกิดการรวมตัวของคาร์ไบด์ที่บริเวณขอบ
    เกรนของออสเทนไนท์ อันเนื่องมาจากการอบคืนไฟ เป็นสาเหตุของการเกิดการแตกร้าวระยะแรก (EARLY CRACKING)
008 เหล็กกล้าเครื่องมืองานเย็น 

  • ในการชุบแข็งเหล็กชนิดนี้ไม่สามารถ ที่จะหลีกเลี่ยง
    โครงสร้าง ออสเทนไนท์ที่ตกค้างได้ เพราะว่ามีส่วนผสม และคาร์บอนสูง
  • บ่อยครั้งโครงสร้างออสเทนไนท์ที่ตกค้าง เป็นต้นเหตุของการแตกร้าว และการเปลี่ยนรูปของชิ้นงาน โดยเฉพาะชิ้นงานที่จะต้องไปทำ Wire Cut หรือเจียรไน การทำ Subzero Treatment หรือการอบคืนไฟที่อุณหภูมิสูงจำนวน 2 ครั้ง สำหรับชิ้นงานดังกล่าวมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
  • โดยการอบคืนไฟที่อุณหภูมิสูง ความแข็งที่ได้ จะอยู่ในช่วง 55~58 HRC ถ้าหากต้องการความแข็งถึง 60 HRC
    อุณหภูมิ ในการชุบแข็งจะต้องใช้ถึง 1,070 oC ซึ่งจะสูงกว่าอุณหภูมิ ชุบแข็งปกติคือ 1,030 oC ทั้งนี้ เพื่อที่จะให้ได้ความแข็ง อันเนื่องมาจากการเกิด second hardening กระบวนการเช่นนี้ไม่แนะนำ เพราะเป็นการเพิ่มปริมาณของโครงสร้างออสเทนไนท์
    ที่ตกค้าง
  • การอบคลายความเค้นจะกระทำสำหรับ กระบวนการแปรรูป ด้วยเครื่องมือกลที่ต่อจากการชุบแข็ง
009 เหล็กไฮสปีด 

  • เหล็กไฮสปีดได้ถูกพัฒนาขึ้นมาสำหรับเครื่องมือตัด ซึ่งสามารถที่จะรักษาความแข็งที่สูงเอาไว้ ถึงแม้ว่าได้รับความร้อนถึงสภาพ ร้อนแดงโดยอันเนื่องมาจากการตัดที่ ใช้ความเร็วรอบสูง เพื่อวัตถุประสงค์นี้ อุณหภูมิชุบแข็ง จำเป็นจะต้องกระทำที่อุณหภูมิ 1,200 oC เพื่อต้องการความแข็งสูง
  • การอบคืนไฟ จะต้องกระทำมากกว่า 3 ครั้ง เป็นเพราะเหล็กกล้าชนิด นี้มีปริมาณของโครงสร้างออสเทนไนท์ที่ตกค้าง ภายหลังชุบแข็งเป็นจำนวนมาก
  • เครื่องมือตัดบาง ๆ สามารถที่จะทำการ ดัดได้โดยอาศัยคุณสมบัติของ โครงสร้างออสเทนไนท์ที่ตกค้างหลังจาก การชุบในขณะที่ยังอุ่นอยู่
  • เหล็กไฮสปีดเมื่อใช้งาน ที่ไม่เกิดความร้อน (ROOM TEMPERATURE) และต้องการความแกร่ง จะต้องใช้อุณหภูมิ ชุบแข็งที่ต่ำกว่าปกติ ซึ่งกระบวนการสำหรับความ แกร่งสูงนี้เรียกว่า UNDER HARDENING



 010

  • ฟิล์มของอ๊อกไซด์บนผิวของโลหะชิ้นงาน จะถูกขจัดโดยสูญญากาศ และผิวผนังของมันถูกอาบ ไปด้วยตัวประสาน (ALLOY) เป็นผลทำให้เกิด การเชื่อมประสานที่ดี
  • ด้วยการให้ความร้อนแก่ ชิ้นงานที่อุณหภูมิสูงภายใต้ สูญญากาศที่เพียงพอแก่การแพร่ กระจายของโลหะทำให้เกิดการเชื่อม 
    ประสานที่ปราศจากสารมลทิน และเกิดโพรงภายใน
  • ช่องว่าง (GAP) แคบ ๆ ที่มีค่าน้อยกว่า 0.05 มม. ทำให้การเชื่อมประสานของโลหะมีความแข็งแรง และความเที่ยงตรงสูง




 

 

 

 

011 กระบวนการ ทีดี การเคลือบแข็งด้วย VC
 


วานาเดียม คาร์ไบด์ ที่มีความแข็งสูงสามารถที่จะทำการเคลือบให้เกิดขึ้นบนผิวของเหล็กกล้าเนื้อวัสดุ โดยกระบวนการ TD ชั้นผิวที่ได้
สามารถที่จะเพิ่มความต้านทานต่อการเสียดสี การขูดขีด การเกิดอ๊อกซิเดชั่น การกัดกร่อน และคุณสมบัติอื่นๆ ของผลิตภัณฑ์โลหะ นับ
ตั้งแต่กระบวนการนี้ได้ถูกคิดค้นโดยห้องปฏิบัติการในศูนย์วิจัย และการพัฒนาของ TOYOTA กระบวนการนี้ได้ถูกใช้งานอย่างกว้าง
ขวางเป็นเวลาอันยาวนานในอุตสาหกรรมยานยนต์ และในอุตสาหกรรมสาขาอื่นๆ อย่างมากมาย

    เนื้อวัสดุเดิมจะถูกจุ่มแช่อยู่ในเบ้าเกลืออุณหภูมิสูงที่มี วานาเดียมบรรจุ
    อยู่ วานาเดียมในเกลือจะก่อให้เกิด (VC) วานาเดียม คาร์ไบด์ โดยการ
    รวมตัวกับคาร์บอนด์ในวัสดุเดิม ซึ่งได้แพร่กระจายไปยังผิวของชิ้นงาน
    หลักการเบื้องต้นของกระบวนการนี้ได้แสดงไว้ในรูปด้านซ้ายมือ

    กระบวนการนี้จะตามด้วยการชุบแข็ง และการอบคืนไฟ เพื่อที่จะได้มา
    ซึ่งคุณสมบัติทางกลของเนื้อวัสดุเดิม ตามที่ต้องการ กระบวนการนี้สามารถประยุกต์ใช้กับพื้นผิวของเหล็กกล้าที่มีคาร์บอน 0.3% ขึ้นไป
    ในกรณีของวัสดุที่มีคาร์บอนน้อยกว่า 0.3% การทำคาร์บูไรซิ่ง ก่อนที่
    จะทำการเคลือบเป็นสิ่งจำเป็นความแข็งที่เกิดจากกระบวนการนี้จะได้
    3,000 วิกเกอร์ซึ่งเราอาจจะพูดได้ว่าความแข็งที่ได้จะสูงกว่าการทำ
    ด้วยไนโตรดิ้ง 

    ในเหล็ก เครื่องมือ หรือไฮสปีด ไม่ว่าจะเป็นการเคลือบด้วย tungsten
    carbide และเหล็กที่มีความแข็งสูงทั้งหลาย ขณะที่กระบวนการนี้ ชั้น
    ของ VC เกิดจากการแพร่กระจาย ของคาร์บอนจากเนื้อวัสดุเดิม ทำให้
    ชั้นผิวติดแน่นกับวัสดุ เดิมของชิ้นงานและไม่เกิดการกระเทาะออกถึงแม้
    จะใช้งาน หนักก็ตาม

    ในขณะเดียวกันชั้นของ VC ยังมีคุณลักษณะพิเศษในการต่อต้านต่อการ
    กัดกร่อนได้เป็นเลิศ

012 ขั้นตอนของกระบวนการ TD

013 TD. WORING. ZONE

 

014 ทรัฟฟ์ไตรค์ QP, QPQ
 

 

 

ทรัฟฟ์ไตรด์ คือ กระบวนการไนไตรดิ้งด้วยเตาเกลือโดย DUFFERIT ประเทศเยอรมัน และได้ถูกใช้ในอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง

  • กระบวนการนี้กระทำในอ่างเกลือที่ต่ำกว่าอุณหภูมิวิกฤติ (510 ~ 580 oC) ซึ่งให้ไนโตรเจน และคาร์บอนจำนวนหนึ่ง โดยเกิดการแพร่กระจาย เข้าไปยังผิวของชิ้นงาน เกิดเป็นสารประกอบของ e-iron ขึ้นบนชั้นผิวของงาน
    ความแข็งของชั้นสารประกอบอยู่ในช่วงระหว่าง 400 ถึง 1,200 HV ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุชิ้นงาน ซึ่งเป็นเหตุให้ทนต่อการเสียดสี และการเกิดรอยแผลขีดข่วนบนชิ้นงานได้
015 ตัวอย่างของการใช้งาน

  • เครื่องมืองานร้อน : พิมพ์ทุบขึ้นรูป พิมพ์รีด และแม่พิมพ์ดาร์ยคาสติ้ง
  • เหล็กกล้างานเย็น
  • เหล็กไฮสปีด
  • เพลาข้อเหวี่ยง และลูกเบี้ยว
  • กระบอกสูบ เสื้อสูบ และฝาสูบ
  • เฟืองต่างๆ
  • วาลว์เครื่องดีเซล
  • สกรูอัดของเครื่องฉีดพลาสติกและกระบอก
  • Food processing equipments & tools
  • QP คือกระบวนการของซ็อฟท์ไนไตรดิ้งเหลวซึ่งสามารถ ที่จะทำได้กับเหล็กทุกชนิด
  • เป็นการบวนการที่ทำได้อย่างรวดเร็วมากไม่ว่าชิ้นงาน
    มีจำนวนมากหรือน้อย
  • ได้ความแข็งที่ผิวสูงจึงทำให้อายุการใช้งานของเครื่อง
    มือยาวนานกว่า
  • QPQ คือกระบวนการทำให้เกิดอ๊อกไซด์ โดยการเย็นตัว
    ในเกลือพิเศษ AB1 ซึ่งจะทำภายหลังจากกระบวนการ QP
  • โดยการอบชุบด้วย QPQ สามารถที่จะเพิ่มความทนต่อ การกัดกร่อนเป็นอย่างมากควบคู่กันกับการทนต่อการ เสียดสี

 



016 ความแข็งและความลึกของผิว

  • ชั้นความแข็งของการทำไนไตรด์โดยกระบวนการทัฟฟ์ไตรด์
    ประกอบด้วย ชั้นสีขาว(ชั้นสารประกอบ) และชั้นแพร่กระจาย
  • ลักษณะจำเพาะของผิวชิ้นงานส่งผลมาจาก ชั้นสีขาวเป็นหลัก
  • ความแข็งของผิว และความลึกของชั้นไนไตรด์ทั้ง 2 ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุชิ้นงาน และช่วงเวลาที่ใช้ทำไนไตรด์
  • แผนภูมิด้านขวามือเป็นข้อมูลจากหนังสือของ BOHLER

017 เครื่องมือและอุปกรณ์ของเรา

  • QP เตาเกลือ TF1

Ø 500 x 750 mm
Ø 710 x 1500 mm
Ø 1000 x 1500 mm

  • QPQ เตาเกลือ AB1
    50x1000x1400mm

    Ø 1000 x 1500 mm

018 ความทนต่อการกัดกร่อนโดย QPQ

                

ด้วยกระบวนการทัฟฟ์ไตรด์ QPQ ทำให้ความทนต่อาการกัดกร่อนเพิ่มขึ้นได้อย่างน่าทึ่ง 
     ในการวัดความทนต่อการกัดกร่อนของตัวอย่างและชิ้นส่วนมัก จะใช้วิธีการสเปรย์ด้วยน้ำเกลือ (SALT SPRAY TEST) ตามมาตราฐาน DIN 50021 และการจุ่มในสารละลายเคมี (TOTAL IMMERSION TEST) ตามมาตรฐาน DIS 50905
     รูปทางด้านขวาแสดงผลของการทดสอบสเปรย์ด้วยน้ำเกลือ 5% ที่อุณหภูมิ 30 C ซึ่งทำการทดสอบทั้งฮาร์ดโครมกับสลักลูกสูบ และQPQ กับแท่งเหล็กกล้าคาร์บอน ภายหลังจาก 40 ชั่วโมง เริ่มมีจุดของการกัดกร่อนและหลังจาก 180 ชั่วโมง ปรากฏการกัดกร่อนเต็มพื้นที่ส่วนใหญ่ของสลักลูกสูบ ซึ่งชุบฮาร์ดโครมไม่ปรากฏร่องรอยของการกัดกร่อน กับแท่งเหล็กที่ชุบ QPQ เลยแม้แต่น้อย



.

.

019 คาร์บูไรซิ่ง(การเพิ่มคาร์บอน) คืออะไร?
 

  • คาร์บูไรซิ่ง เป็นวิธีการอันน่าทึ่ง วิธีหนึ่งที่สามารถเพิ่มคุณสมบัติที่ดี 
    แก่ผิวของเพลา เฟือง และชิ้นส่วนของเครื่องจักรกลที่ต้องการความเค้นสูงอื่น ๆ
  • คาร์บูไรซิ่ง สามารถทำการเปลี่ยนแปลงให้ชิ้นงาน ที่ทำด้วยเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำเ ปลี่ยนเป็นทั้งเหล็กกล้าคาร์บอนสูงที่ผิว และเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำที่แกนได้ในขณะเดียวกัน
  • เมื่อทำการชุบชิ้นงาน ภายหลังจากทำคาร์บูไรด์ซิ่ง ให้ได้โครงสร้างมาร์เทนไซด์ และ ทำการอบคืนไฟ จะได้ความแข็ง และ ความแข็งแรงของโครงสร้างที่ผิวสูง ประกอบกับแรงสนับสนุนจากความเค้นที่ตกค้างอันเนื่อง มาจากปฏิกิริยาที่มีต่อกันระหว่างผิว และแกนในระหว่างการชุบ จึงเป็นผลทำให้เกิดการทนต่อการเสียดสี การทนต่อความล้าอันเกิดจากการบิดตัว และความล้าอันเกิดจากการหมุนสัมผัส(ROLLING-CONTACT) เป็นอย่างสูง
020 ข้อได้เปรียบของ durferrit คาร์บูไรซิ่ง
  • CEconstant80 เป็นเกลือที่จดสิทธิบัติโดย DURFERRIT (ประเทศเยอรมัน)
  • ด้วยขีดความสามารถของคาร์บอน ในเกลือสามารถควบคุมได้โดยง่าย จึงทำให้ความเข้มข้นของคาร์บอนที่ได้ มีปริมาณถูกต้องและแม่นยำ
  • โดยกระบวนการคาร์บูไรซิ่ง ยังได้ไนโตรเจนจำนวนหนึ่งไปพร้อมๆ กันกับคาร์บอน ที่ได้โดยปกติ (คาร์โบ-ไนไตร)
  • คาร์โบ-ไนไตรดิ้งสามารถควบคุมได้โดยอุณหภูมิที่ใช้ทำ
  • การชุบโดยตรงจากอุณหภูมิคาร์บูไรซิ่งจะเกิดการเปลี่ยนรูปน้อย
  • ประหยัด และ รวดเร็วแม้แต่ปริมาณงานจำนวนน้อย

 

021 การวัดความลึก ของผิว
  • คุณภาพของชิ้นงานคาร์บูไรซิ่ง บ่งชี้ได้ทั้งโดยความแข็งของผิว และความลึกของผิว
  • ความลึกของผิว ได้ถูกแบ่งออกเป็น ความลึกของผิว EFFECTIVE และความลึกของผิวรวม เพื่อความชัดเจนในการสั่งงาน
  • ความลึกของผิว EFFECTIVE คือ ระยะจากผิวเข้าไปสู่ความแข็งที่กำหนดไว้ ถ้าไม่กำหนดไว้ให้ใช้ค่าความแข็ง HRC 50 เป็นตัวกำหนด
  • ความลึกของผิวรวม คือ ระยะจากผิวถึงตำแหน่งที่เกิดแถบของความแตกต่าง อันเนื่องมาจาก การกัดด้วยกรดของเนื้อพื้นเหล็กเดิม หรือวิธีการทดสอบความแข็ง

 

 

022 การประมาณค่าความแข็งภายใน

    การประมาณค่าความแข็งภายในของชิ้นส่วนคาร์บูไรซิ่ง โดยใช้จอมินีเคอร์ฟ (JOMINY CURVE) ของแข็ง เริ่มจากการ
    เลือกสารชุบ เช่น น้ำหรือน้ำมัน การเลือกช่วงของความแข็ง เช่น ที่ผิว 3/4 จากแกนกลางหรือที่ศูนย์กลางของเพลา ค่าความ
    แข็งหาได้จากจุดตัด โดยการลากเส้นจากเส้นผ่าศูนย์กลางของเพลา ลงมาตัดกับ จอมินีเคอร์ฟ (JOMINY CURVE) ของ
    เหล็กชนิดนั้นๆ ซึ่งความแข็งผิวหมายถึงสภาพผิวที่ไม่ได้ทำการคาร์บูไรซิ่ง


 

 

023 การชุบแข็ง (Bright Hardening) ด้วยเตาเกลือ
 

  • เกลือกลาง Durferrit GS540/R2 ของ Degussa ที่
    หลอมละลายจะทำการปกคลุมชิ้นงานตลอดทั้งกระบวนการ
    ให้ความร้อนซึ่งเป็นการป้องกันการเกิดการสูญเสียคาร์บอน
    และการตกสะเก็ดของชิ้นงาน

  • เมื่อนำชิ้นงานออกจากเตา ฟิล์มบาง ๆ ของเกลือจะเคลือบอยู่ที่
    ผิวของชิ้นงาน อันเป็นการป้องกันการสูญ เสียคาร์บอนและการ
    ตกสะเก็ด ซึ่งฟิล์มดังกล่าวนี้สามารถที่จะร่อนหลุดออกได้โดย
    ง่ายในสารชุบจึงทำให้เกิดการเย็นตัวที่รวดเร็วได้โดยสมบูรณ์

  • ปริมาณของความร้อนที่มีมากในเกลือทำให้ชิ้นงาน สามารถที่
    จะได้รับความร้อนรวดเร็วถึง 3 เท่า ของเตาประเภทอื่น

  • เบ้าเกลือจะถูกควบคุมคุณภาพประจำเป็นรายวันโดยการตักตะกอน และตรวจสอบการสูญเสียคาร์บอนโดยการใช้ลวด
    เหล็กกล้าคาร์บอนสูง

  • ตลอดขั้นตอนของการชุบ ทำให้เกิดทั้งความเค้นที่เกิดจาก
    ความร้อนและความเค้นที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง
    อันเนื่องมาจากความแตกต่าง ของความร้อนระหว่างที่ผิวและ
    ที่แกนของชิ้นงานซึ่งเป็นสาเหตุของการบิดงอและการแตกตัว
    โดยเฉพาะกับชิ้นงานที่มีรูปร่างสลับซับซ้อน
  • ปัญหาดังกล่าวข้างต้นสามารถที่จะป้องกันได้โดยการหยุดการ
    เย็นตัวของชิ้นงานที่เหนืออุณภูมิของการเปลี่ยนแปลงโดยสร้าง
    (MS) และหลังจากนั้นให้เย็นตัวอย่างช้า ๆ ซึ่งเรียกว่า
    ไทม์เคว้นชิ่ง (Time Quenching)
แสดงหลักการของไทม์เคว้นชิ่ง
024 ออสเทมเปอร์ริ่ง (Austempering)
    ออสเทมเปอร์ริง คือ กรมมวิธีชุบแข็งแบบพิเศษที่ต้องชุบชิ้นงานลงในอ่างเกลือร้อนที่มีอุณหภูมิคงที่ และแช่ทิ้งไว้ที่อุณหภูมิ
    นั้น ระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างสู่เบนไนท์ ซึ่งโครงสร้างเบนไนท์นี้ มีคุณสมบัติพิเศษในด้านความเหนียว
    และความแกร่งสูง เมื่อเปรียบเทียบกับโครงสร้างมาร์เทนไซท์ ที่ได้จากการชุบแข็งและการคืนไฟโดยทั่วไป นอกจากนี้กรรม
    วิธีนี้ ยังมีข้อได้เปรียบเกี่ยวกับการเปลี่ยนรูปและการเปลี่ยนขนาดภายหลังจากการอบชุบน้อย ตารางที่ 1 ข้างล่างจะแสดงตัว
    อย่าง คุณสมบัติทางกล ซึ่งได้มาจากกรรมวิธีที่แตกต่างกัน 3 กรรมวิธี

025 ตารางที่ 1 แสดงคุณสมบัติเชิงกลของกรรมวิธีชุบแข็ง 3 แบบที่แตกต่างกัน

 
026 ความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งและอุณหภูมิการทำออสเทมเปอร์

 

 

027 การชุบแข็งด้วยระบบอินดั๊กชั่น (การเหนี่ยวนำ)
 

  • ชิ้นงานจะถูกให้ความร้อนโดยการเหนี่ยวนำของสนาม
    แม่เหล็กไฟฟ้า ที่บริเวณชั้นผิวหน้าเพียงเท่านั้น
  • ให้ความแข็งสูงที่ผิวงาน และทนต่อความล้าได้มากขึ้น
  • ความเค้นแรงอัดที่ตกค้าง อันเกิดจากการชุบแข็งแบบอินดักชั่น ส่งผลดีในด้านการทนต่อความล้าของชิ้นงาน
  • กระบวนการตกแต่งภายหลังจากการชุบ ไม่มีควมจำเป็นมากนัก เพราะกระบวนการนี้จะทำให้เกิดการสูญเสียคาร์บอน หรือเป็นสเกลบนผิวชิ้นงานเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

การชุบแข็งร่องฟันของเพลา
028 Facilities

ผลิตโดย TCCO (อเมริกา)
10KHz 150KW
&O slash;300x2,000 สูงสุด 
ผิวแข็งลึก 1~5 มม.
ผลิตโดย DENSHIKAGAKU (ญี่ปุ่น)
200KHz?40KW
Ø 50x600 สูงสุด
ผิวแข็งลึก 0.4 ~ 2.5 มม.
2.5mm
029 ความแข็งและความเค้นที่ตกค้าง


  • ความแข็งที่ได้ ขึ้นอยู่กับส่วนผสมของคาร์บอน ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับความสามารถ ในการชุบแข็งของวัสดุ
  • ความแข็งที่ได้จากการชุบด้วยอินดักชั่นจะสูงกว่าการ
    ชุบแข็งปกติ อันเนื่องมาจากความเค้นแรงอัดที่ตกค้าง ซึ่งเกิดจากกระบวนการชุบ
  • ในขณะที่ความแข็งและความเค้นที่ตกค้างจะต้องรักษาไว้ การอบคืนไฟก็มีความจำเป็นจะต้องกระทำเพื่อป้องกัน
    การเปลี่ยนรูป และการแตกร้าวจากการเจียระไน ตลอดจนการเพิ่มความเหนียว
 
ความแข็งและส่วนผสมของคาร์บอน
ความแข็งหลังจากอบคืนไฟ
  • โดยการชุบด้วยอินดั๊กชั่นผิวของชิ้นงานจะเกิดการขยายตัว
    อื่นเนื่องมาจากการเกิดโครงสร้างมาร์เทนไซด์ ขณะที่ส่วนภายใน
    ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง ความเค้นที่ตกค้างจึงเกิดขึ้น
  • สืบเนื่องจากความเค้นที่ตกค้างดังกล่าว ทำให้ความแข็งที่ได้จากการชุบด้วยวิธีนี้สูงกว่าการชุบโดยทั่วไป
    และยังเป็นข้อได้เปรียบ
การกระจายของความเค้นที่ตกค้าง
030 การชุบแข็งด้วยเปลวไฟ (Flame Hardening)
 

      

การชุบแข็งด้วยเปลวไฟ เป็นหนึ่งในกระบวนการชุบแข็งผิว เหล็กและเหล็กกล้าโดยบริเวณที่ต้องการชุบแข็งจะถูกเผาให้ร้อน อย่างรวดเร็วด้วยเปลวไฟอุณหภูมิสูงของแก๊สผสมระหว่างโพรเพน และอ๊อกซิเจน จากนั้นทำการชุบอย่างรวดเร็วเพื่อที่จะได้ความ แข็งสูงตามต้องการ 
      การชุบแข็งด้วยเปลวไฟมีข้อดีในการเพิ่มความต้านทานต่อ การ เสียดสีและทนต่อความล้า อันเนื่องมาจากความเค้นแรงอัด ที่ตกค้างที่เกิดจากกระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่ไม่มีข้อจำกัด ในเรื่องของขนาดหรือน้ำหนักของชิ้นงาน เหมาะสมและประหยัด สำหรับการผลิตที่มีจำนวนน้อย ไม่มีค่าใช้จ่ายในการทำคอยล์ (coil) เหมือนกับการชุบแข็งอินดั๊กชั่น

ค่าความแข็งที่ได้จากการชุบแข็งด้วยเปลวไฟ (HRC)
วัสดุ
JIS
ชุบลม
ชุบน้ำมัน
ชุบน้ำ
SC
S20C, S35C
-
-
33 ~ 50
S38C, S50C
-
52 ~ 58
55 ~ 60
S53C, S58C
50 ~ 60
58 ~ 62
60 ~ 63
SM
SCM 435
-
50 ~ 55
50 ~ 60
SCM 440
52 ~ 56
52 ~ 56
55 ~60
SK-
SK 3, 4, 5, 6
52 ~ 56
58 ~ 62
62 ~ 65
SUJ
SUJ 2
55 ~ 56
55 ~ 60
62 ~ 64
FC
FC 300
-
43 ~ 48
43 ~ 48
FC 350
-
48 ~ 52
48 ~ 52
FCD
FCD 600
-
-
35 ~ 45
FCD 700
-
52 ~ 56
55 ~ 60

 

031 การให้คำปรึกษาแนะนำ ด้านการอบชุบโลหะด้วยความร้อน และอื่น ๆ
 
  • การเลือกใช้กระบวนการอบชุบ
  • การเลือกใช้วัสดุ
  • การอ่าน และค้นหาสัญลักษณ์ของวัสดุ
  • การเลือกใช้วัสดุที่ทดแทนกันได้
  • การตรวจสอบ
  • และหาสาเหตุของการผิดพลาดอันเนื่องมาจากการอบชุบ
  • การตรวจสอบหาสาเหตุของการแตกร้าวในการใช้งาน และการป้องกัน
  • การยืดอายุการใช้งานของเครื่องมือ
  • การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับงานเชื่อม
  • การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับงานหล่อ และงานทุบขึ้นรูป
  • การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์หล่อ และผลิตภัณฑ์ทุบขึ้นรูป
  • อื่น ๆ
โปรดติดต่อโดย ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ หรือภาษาญี่ปุ่น
โทร : 02-708-3670~6
โทรสาร : 02-708-3678

 

 

 

 

 





Advertising Zone    Close
 
Online:  1
Visits:  40,582
Today:  16
PageView/Month:  333

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com